animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate

อ่างทอง

   จังหวัดอ่างทอง 
พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง
โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน
ประวัติความเป็นมา

   จังหวัดอ่างทองอุดมไปด้วยงานหัตถกรรมพื้นถิ่นไม่ว่าจะเป็นงานปั้นตุ๊กตาชาววัง การทำกลอง การทำอิฐดินเผา หรือการผลิต เครื่องจักสาน ทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดเพลงพื้นบ้านลิเก เป็นจังหวัดบ้านเกิดของ นายดอก นายทองแก้ว เมืองวิเศษชัยชาญ และนายแท่น นายอิน นายเมือง ชาวบ้านสีบัวทอง วีรชนคนกล้าในศึกบางระจัน และขุนรองปลัดชู ผู้นำกองอาทมาตอาสาสู้รบจนสิ้นชีพ ๔๐๐ คน ที่เมืองกุยบุรี นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยวัดวาอารามที่มีความเก่าแก่โบราณสวยงามและมีจุดเด่นที่น่าสนใจมากมายกว่า ๒๐๐ วัด อันเป็นสถานที่ที่น่าศึกษาประวัติศาสตร์และเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของชาติไทย
   อ่างทองเป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ซึ่งนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส ชื่อนายชอง บวสเซอลิเย่ (Dr.Jean Boisselier) พร้อมนักโบราณคดีจากกรมศิลปากรมาสำรวจพื้นที่จังหวัดอ่างทอง พบร่องรอยคูเมืองที่มีร่องน้ำโอบล้อมรอบเมืองตามรูปแบบคูน้ำคันดินชวากทะเล คูเมืองที่สำรวจพบ คือ บ้านคูเมือง ตำบลหัวไผ่ อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
   ในปัจจุบันอ่างทองเดิมชื่อ เมืองวิเศษชัยชาญ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยบนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยาในการสู้รบกับกองทัพพม่า ดังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายตอนโดยเฉพาะในช่วงก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่าได้ใช้แขวงเมืองวิเศษชัยชาญเป็นที่ตั้งค่ายเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาและทำให้เกิดการสู้รบครั้งสำคัญที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทยนั่นคือ ศึกบางระจัน ปลายสมัยกรุงธนบุรีได้ย้ายที่ตั้งเมืองมาอยู่บริเวณฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ บ้านบางแก้ว เรียกชื่อใหม่ว่า “อ่างทอง” เนื่องจากเป็นที่ลุ่มและอู่ข้าวอู่น้ำอันเป็นเสมือนขุมทรัพย์ที่มีค่า
   จังหวัดอ่างทองเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนล่าง มีเนื้อที่ ๙๖๘ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านสองสาย คือ แม่น้ำน้อย และแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดอ่างทองแบ่งการปกครองออกเป็น ๗ อำเภอ คือ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอวิเศษชัยชาญ อำเภอแสวงหา อำเภอป่าโมก อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอไชโย และอำเภอสามโก้
มีอาณาเขตติดต่อคือ
   ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี
   ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดลพบุรีและพระนครศรีอยุธยา
   ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุพรรณบุรี
   ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ตราประจำจังหวัดอ่างทอง

สัญลักษณ์ :  
             เป็นรูปอ่างสีน้ำตาล ในอ่างมีใบข้าวสีเขียวสลับไขว้ไปมา มีรวงข้าวสุกสีเหลือง 4 รวงอยู่ภายในวงกลมพื้นสีเขียวอ่อน ขอบนอกวงกลมสีน้ำตาล ขอบในสีขาว ด้านล่างของอ่าง ภายในวงกลมมีลายไทย สีเหลืองประกอบ และมีตัวหนังสือคำว่า จังหวัดอ่างทอง อยู่ภายใน
ความหมาย :
             จังหวัดอ่างทองเป็นจังหวัดที่ราบลุ่ม มีลักษณะเป็นแอ่งรับน้ำภูมิประเทศเหมาะแก่การเพาะปลูก ดวงตราของจังหวัดจึงเป็นรูปอ่างสีทอง ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัด ในอ่างมีรวงข้าว และใบข้าวซึ่งหมายถึงการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนในภูมิภาคนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น