animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate

ปทุมธานี

ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้า อุตสาหกรรม ปทุมธานีเป็นหนึ่งในจังหวัดปริมณฑลที่มีความเจริญในด้านต่างๆ มาก เป็นเมืองศูนย์กลางทางการศึกษาวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีของภูมิภาค มีมหาวิทยาลัยและสถานศึกษาต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วย มรดกทางศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อื่นๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมของชาวมอญ ที่ตกทอดรุ่นสู่รุ่นมาเป็น เวลา หลายชั่วอายุคน อันเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง และด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร มีการ คมนาคมสะดวก จังหวัดปทุมธานีจึงเป็นอีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวทางเลือกของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน
บริเวณที่เป็นที่ตั้งของจังหวัดปทุมธานีในปัจจุบันนี้ เคยมีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยมาแล้วเป็นเวลากว่า 300 ปี นับ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2202 ได้มีครอบครัวชาวมอญจากเมือง เมาะตะมะอพยพหนีภัยศึกสงครามกับพม่า เข้ามาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญดังกล่าวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ชุมชนสามโคกจึงได้พัฒนาขึ้นมา ตามลำดับนับจากนั้นต่อมาในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ก็ได้มีชาวมอญอพยพหนีพม่า เข้ามาอีกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปอาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนชาวมอญที่สามโคก เป็นชุมชนชาวมอญที่มี ขนาดใหญ่ขึ้น กระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีกลุ่มชาวมอญจากเมืองเมาะตะมะอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมากอีกครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน ชุมชนบ้านสามโคกจึงเติบโต ขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเมืองสามโคกในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2358 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัยได้เสด็จประพาสเมืองสามโคก และประทับที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้าย เยื้องกับเมืองสามโคก ชาวมอญจำนวนมากที่ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณได้พากันนำดอกบัวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายราชสักการะจึง พระราชทานนามเมืองสามโคกใหม่ว่า "เมืองประทุมธานี" อันมีความหมายว่า “เมืองแห่งดอกบัว” นั่นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน "เมือง" และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัด "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" และปี พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ได้โปรดให้ยุบจังหวัดธัญบุรีลง กลายเป็นอำเภอหนึ่ง ที่ขึ้นกับจังหวัด ปทุมธานีนับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันจังหวัดปทุมธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ เช่น อำเภอเมือง ปทุมธานี อำเภอคลองหลวง อำเภอธัญบุรี อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอลำลูกกา ฯลฯ
ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสระบุรี 
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร 
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครนายก และจังหวัดฉะเชิงเทรา 
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดนนทบุรี
ที่ว่าการอำเภอเมืองปทุมธานี โทร. 0 2581 6130
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 2581 2121
โรงพยาบาลปทุมธานี โทร. 0 2598 8888
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง โทร. 0 2581 6117 , 0 2581 6789
สัญลักษณ์จังหวัดปทุมธานี
ตราสัญลักษณ์จังหวัดปทุมธานี
รูปวงกลมมีสัญลักษณ์ดอกบัวหลวงสีชมพูอยู่ตรงกลาง และรวงข้าวสีทองอยู่ ข้าง
ดอกบัวและต้นข้าว หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วย พืชพันธุ์ธัญญาหาร
จังหวัดปทุมธานี ใช้อักษรย่อว่า "ปท"
คำขวัญของจังหวัดปทุมธานี
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
ธงประจำจังหวัดปทุมธานี

ความหมายของธงประจำจังหวัด

สีน้ำเงิน  หมายถึง   พระมหากษัตริย์


สีขาว    หมายถึง  ศาสนา


ดอกบัวหลวงกับต้นข้าว  หมายถึง  ความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกบัวและข้าว

            ความหมายรวมของธงประจำจังหวัดปทุมธานี จึงหมายถึงว่าชาวจังหวัดปทุมธานี เป็นหมู่คณะที่มีความรักและความสามัคคีเป็นปึกแผ่นอันเป็นส่วนหนึ่ง  ของชาติไทย  ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ความสำคัญของธงประจำจังหวัดปทุมธาน เป็นการเชิดชูเกียรติของจังหวัด
บ่งบอกถึงสัญลักษณ์ของจังหวัด
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจชาวจังหวัดปทุมธานี ให้มีความรักท้องถิ่นและมีความร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ ความเจริญ และมีความเอื้ออารีต่อกัน
ชื่อดอกไม้ ดอกบัวหลวง
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ชื่อพรรณไม้ ปาริชาติ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Erythrina variegata
เพลงประจำจังหวัด
เนื้อร้อง นายสุรพล ไชยเสนา นายคำภีร์ เกาะทอง นายทองคำ พันนัทธี นายบำรุง สมจิตต์
ทำนอง นายวิรัตน์ ครองแถว
       ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า            พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
 ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี                      ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว
       ชาวปทุมล้วนตระหนักในศักดิ์ศรี         มุ่งทำดีด้วยหัวใจมิใฝ่ชั่ว
 ชาวปทุมแช่มชื่นพร้อมตื่นตัว                 พัฒนาครอบครัวทั่วทุกคน
       ชาวปทุมมั่นใจในชาติศาสน์กษัริตย์     ยอดสมบัติวัฒนาสถาผล
ชาวปทุมรู้จักรักเตือนตน                     สมค่าคนที่เกิดมาทุกนาที
                ชาวปทุมรักปทุมชุ่มชีวิต                        ใครมาคิดทำลายเราไม่หนี
มีหลักเมืองเป็นร่มเงาเนาฤดี                               ชาวปทุมธานีมีสุขเอย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น