animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate

สิงห์บุรี

ประวัติจังหวัดสิงห์บุรี

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงเมืองสิงห์ถวายสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ไว้ในสาสน์สมเด็จ ว่า ".........เมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองใหญ่และเก่า มีป้อมปราการ วัง วัดมหาธาตุ และของสำคัญ คือ พระนอนจักรสีห์ ใหญ่ยาวกว่าพระนอนองค์อื่น ๆ ในเมืองไทย ทำเป็นแบบพระนอนอินเดียเหมือนเช่นที่ถ้ำเมืองยะลา คือ พระกรขวาศอกยื่นไปทางด้านหน้า ไม่ทำงอพระกรตั้งขึ้นรับพระเศียร แบบพระนอนไทย เมืองสิงห์เรียกชื่อต่างๆ ดังนี้ เมืองสิงหราชาธิราช เมืองสิงหราชา เป็นเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำจักรสีห์อันเป็นลำน้ำใหญ่ ห่างแม่น้ำ เจ้าพระยา 200 เส้น เพราะแม่น้ำจักรสีห์ตื้นเขิน เมืองสิงห์จึงกลายเป็นเมืองอยู่ลับลี้......" ก็แสดงว่า สิงห์บุรีเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ มีอดีตยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีพบว่า มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณมาเป็นเวลานานหลายยุคหลายสมัย ดังนี้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

พบร่องรอยหลักฐานมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี บ้านบางวัว ตำบลไม้ดัด อำเภอบางระจัน บ้านคู ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน คือ ขวานหิน แวดินเผา หินดุ ชิ้นส่วนกำไลสำริด เป็นต้น

สมัยทวาราวดี

พบหลักฐานที่เมืองโบราณบ้านคูเมือง ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี เป็นการตั้งถิ่นฐานแบบ "เมืองคูคลอง" มีแผนผังเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคูน้ำ คันดินล้อมรอบ โบราณวัตถุที่ขุดพบ เช่น ภาชนะดินเผา ลูกปัด แท่นหินบด แวดินเผา ตะคัน ฯลฯ ส่วนหนึ่ง จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตอินทร์บุรี ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวเป็นสวนรุกขชาติและที่ตั้งหน่วยอนุรักษ์พันธุ์ไม้จังหวัดสิงห์บุรี เมืองวัดพระนอนจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง รูปแบบเมืองเป็นเมืองซ้อน มีเมืองชั้นในรูปค่อนข้างกลมและเมืองชั้นนอกล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมมน ไม่ปรากฏร่องรอย กำแพงเมือง (ที่ทำด้วยดินพูนสูง) แต่คูเมืองบางด้านยังปรากฏให้เห็น สิ่งที่พบคือ ลูกปัด แวดินเผา เศษภาชนะ ฯลฯ แหล่งโบราณคดีบ้านคีม ตำบลสระแจง อำเภอบางระจัน มีสภาพเป็นเนินดินรูปรี กว้าง 200 เมตร ยาว 500 เมตร มีคูน้ำขนาด กว้าง 5 เมตร

สมัยสุโขทัย

มีการค้นพบเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยตามวัดร้างและลำน้ำเจ้าพระยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า ชุมชนต่าง ๆ นั้นมีความ สำคัญมากน้อยเพียงไร เพราะในช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองนั้น ได้มีอำนาจแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมในบริเวณภาคกลางและ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฎเหตุการณ์ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระมหารามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ตั้งเมืองสิงห์บุรีเป็นเมืองลูกหลวง เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เป็นเมืองหลานหลวง นอกจากนี้แล้วเมืองทั้งสามยังเป็นหัวเมืองชั้นใน และหัวเมือง ชั้นในหน้าด่าน รายทางด้านทิศเหนืออีกด้วย โดยมีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหน้าด่านหลัก แสดงให้เห็นว่า เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี มีอยู่แล้วเมื่อตั้ง

กรุงศรีอยุธยา

ก่อนหน้านั้นเมืองทั้งสามอาจอยู่ในการปกครองของอาณาจักรสุโขทัย ก็ได้ แต่ไม่ปรากฎแน่ชัดว่า เมืองทั้งสามสร้างขึ้นในสมัยไหน สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้จัดการปกครองใหม่ โดยกำหนด ให้หัวเมืองชั้นในเป็นเมืองจัตวา ดังนั้น เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรี จึงเปลี่ยนเป็นเมืองจัตวา ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ. 2086 เมืองสิงห์เป็น เมืองที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาให้ทหารไป สืบข่าวเรืองศึกสงครามกับพม่า ขณะเดียวกัน ก็ได้ยกกองทัพไปตั้งที่เมืองอินทร์บุรี เพื่อหยั่งเชิงดูข้าศึกอีกด้วย ดังปรากฎในพระราช พงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา สมับสมเด็จพระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2110 หลังจากสมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพได้ไม่นาน พม่าก็ได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ครั้งนี้ พม่ายกกองทัพมาสองทาง คือ ทางเหนือมีพระเจ้าเชียงใหม่เป็นแม่ทัพ และทางตะวันตกมี พระยาพสิมเป็นแม่ทัพ แต่ทัพของพระยาพสิมถูกกองทัพ กรุงศรีอยุธยาตีแตกไปก่อน โดยที่ พระเจ้าเชียงใหม่ยังไม่ทราบ เมื่อกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ยกมาถึงเมืองชัยนาท ก็ให้แต่งทัพหน้า มาตั้งที่บางพุทรา ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภายหลังคือ ตัวจังหวัดสิงห์บุรี ปี พ.ศ. 2308 สมัย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ในขณะที่พม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกัน ต่อสู้กับพม่า ที่บ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี ซึ่งมีผู้นำสำคัญของชาวบ้าน และปรากฎชื่อ คือ 1. พระอาจารย์ธรรมโชติ 2. นายแท่น 3. นายโชติ 4. นายอิน 5. นายเมือง 6. นายทองแก้ว 7. นายดอก 8. นายจันหนวดเขี้ยว 9. นายทองแสงใหญ่ 10. นายทองเหม็น 11. ขุนสรรค์ 12. พันเรือง โดยชาวบ้านบางระจันได้ต่อสู้กับพม่า และสามารถเอาชนะกองทัพพม่าได้ถึง 7 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 8 ชาวบ้านบางระจันจึงพ่ายแพ้ ในวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309 รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าทั้งสิ้น 5 เดือน คือ ตั้งแต่เดือน 4 ปลายปีระกา พ.ศ. 2308 ถึงเดือน 8 ปีจอ พ.ศ. 2309

สมัยกรุงธนบุรี

เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองสิงห์บุรี ขึ้นกับกรุงธนบุรี ในประชุมพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวถึงสำเนา ท้องตรา พ.ศ. 2316 เกณฑ์ผู้รักษาเมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี ยกทัพไปสกัดข้าศึกด้านตะวันออก และคุมพรรคพวก ซ่องสุมกำลังยกไปขุดคูเลนพระนครเมืองธนบุรี

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

มีหลักฐานที่ปรากฎคือพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปกครองมณฑลเทศาภิบาล เมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรี เมืองพรหมบุรี เข้าอยู่ในมณฑลกรุงเก่า (รัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลอยุธยา) และปี พ.ศ. 2439 ยุบเมืองอินทร์บุรี และเมืองพรหมบุรี เป็นอำเภอขึ้นกับเมืองสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็นอำเภอ สิงห์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน ปีพ.ศ.2444อำเภอเมืองสิงห์บุรีเปลี่ยนเป็นอำเภอบางพุทราและในปี พ.ศ.2481 ทางราชการสั่งให้เปลี่ยนชื่อที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเมืองให้เป็นชื่อของจังหวัดนั้น ๆ อำเภอบางพุทราจึงได้กลับไปใช้ชื่ออำเภอเมืองสิงห์บุรีมาจนถึงปัจจุบันนี้ จากหลักฐานที่ปรากฎ สิงห์บุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ริมลำน้ำจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง ต่อมาได้มีการย้ายเมืองไปอยู่ที่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน้อยบริเวณใต้วัดสิงห์สุทธาวาสและย้ายมาอยู่ที่ปากบางนกกระทุงตำบลต้นโพธิ์ ต่อมาในปี 2439 ได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลบางพุทรา สิงห์บุรีแม้จะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ก็เป็นดินแดนประวัติศาสตร์ที่เคยเป็นสมรภูมิรบที่ห้าวหาญของสายเลือดไทยที่เด็ดเดี่ยวสามารถใช้ กลยุทธ์และหัวใจที่เสียสละเพื่อชาติ ปกป้องแผ่นดินไว้เพื่อลูกหลานไทย แม้จะเสียเลือด เสียเนื้อ จนหยดสุดท้าย จากห้วงเวลาของการสู้รบและเหนี่อยยาก มาถึงยุคสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง(ร.5) ทรงเสด็จ ประพาสเมืองสิงห์ ชาวบ้านได้มีโอกาสปรุงอาหารถวาย ต้นเครื่อง-แม่ครัว ในยุคนั้นได้สืบทอดวิชาการปรุงอาหารรสเลิศเกิดเป็น ตำนานแม่ครัวหัวป่าเมืองสิงห์ จวบจนปัจจุบัน ภูมิปัญญาในการหาเครื่องปรุงไม่ว่าจะเป็นพืช ผักกุ้ง ปู ปลา ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ความอุดมสมบูรณ์ของลำน้ำหลายสายเชื่อมโยงการดำเนินชีวิตของชาวบ้านริมน้ำเป็นวิถีชิวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการกิน การอยู่ การเลี้ยงชีพด้วยการเกษตร จนได้ชื่อว่า "แดนดินแห่งแม่น้ำสามสาย" นอกจากจะปรากฏร่องรอยของตำนาน นักรบไทย เรื่องราวในอดีตยังได้กล่าวถึงความเชื่อความศรัทธา ในพระพุทธศาสนาที่เป็นศูนย์กลางการยึดเหนี่ยวจิตใจ นักรบ และชาวบ้านให้เกิดการฮึกเหิม ตั้งมั่น เด็ดเดี่ยว ปรากฏเป็นวัดวาอารามเก่แก่ เกจิอาจารย์ชื่อดัง ตลิดจนโบราณสถานทรงคุณค่าให้ประชาชนสักการะตลอด ริมแม่น้ำที่สร้างมาร่วมสมัยตั้งแต่เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเผยแพร่พระพุทธศาสนามายังสุวรรณภูมิให้เราได้สืบค้นเพื่อเรียนรู้ถึงความเป็นไป ที่เปลี่ยนแปลงตามอดีต หลากหลายเชื้อชาติที่พลัดถิ่นจากสงครามเดินทางมาตั้งหลักปักฐานกลายเป็นชนพื้นบ้านในแถบ อ.พรหมบุรี หรือชาวลาวเวียง ชาวลาว บ้านแป้ง ต้นกำเนิด ประเพณีกำฟ้า ประเพณีต่างๆที่มีความคล้ายคลึงกันตามแถบลุ่มน้ำกลายเป็นความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่ผสมผสานสืบทอด...มาจนถึงปัจจุบัน ประวัติชาวบ้านบางระจัน

ตราประจำจังหวัด

ความหมาย
เมื่อเดือน ๓ ปลายปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ ชาวสิงห์บุรี เมืองวิเศษชัยชาญและสรรคบุรี โดยการนำของคนไทยชั้น หัวหน้าสำคัญ ๑๑ คน ได้ซ่องสุมชาวบ้านรวม ๖๐๐ คน มาพึ่งพระอาจารย์ธรรมโชติผู้ทรงวิทยาคมตั้งค่ายสู้รบกับทหาร ของเนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่าที่บ้านบางระจัน เขตเมืองสิงห์บุรี ด้วยความรักชาติ สามัคคี และเสียสละ จนสามารถเอาชนะ ทหารพม่าได้ถึง ๗ ครั้ง แต่ด้วยกำลังพลและอาวุธที่เสียเปรียบมาก ในการรบครั้งที่ ๘ เมื่อวันจันทร์ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ พม่าจึงตีค่ายบางระจันได้สำเร็จ รัฐบาลโดยกรมศิลปากร ได้สร้างอนุสาวรีย์วีรชนชาวบ้านบางระจันขึ้นเพื่อให้ลูกหลาน ไทยได้รำลึกถึงตลอดไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๑๙ ทางราชการจังหวัดสิงห์บุรี พร้อมด้วยประชาชนทุกหมู่เหล่า ตำรวจและทหารสามเหล่าทัพได้พร้อมใจกันทำ พิธีสักการะสดุดีวีรชนชาวบ้านบางระจันสิงห์บุรี ในวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ของทุกปี

รูปแบบ
เป็นรูปโครงร่าง ๑๑ วีรชนสีดำ อยู่บนพื้นสีแดงภายในโล่ (เครื่องป้องกันอาวุธ) ชนิดกลม ขอบโล่ถัดจากพื้นสีแดง มีวงกลมสีขาว สีน้ำเงิน และสีแดง มีขนาดและสัดส่วน เช่นเดียวกับพื้นแถบธงชาติไทยออกไปตามลำดับ ใต้รูปโครงร่างวีรชน มีข้อความ จังหวัดสิงห์บุรี เป็นอักษรสีดำโค้งไปตามส่วนล่างของขอบโล่ กรณีประดับตราประจำจังหวัดบนผืนธงให้ตราอยู่ กึ่งกลางผืนธงพื้นสีแดงขนาดมาตรฐานธงชาติไทย และให้ตัดวงกลมสีแดงวงนอกสุดออกเพื่อกลมกลืนกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น