animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate

พิจิตร

ข้อมูลแนะนำจังหวัดพิจิตร
จังหวัดพิจิตร เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง มีเนื้อที่ 4,531.013 ตารางกิโลเมตร มีความยาวจากทิศเหนือจดใต้ประมาณ 77 กิโลเมตร ความกว้างจากทิศตะวันออกจดทิศตะวันตกประมาณ 72 กิโลเมตร มีความหมายว่า “เมืองงาม” ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยมไหลผ่าน ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ในสมัยสุโขทัยปรากฎในศิลาจารึกหลักที่1ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและในศิลา จารึกหลักที่ 8 รัชกาลพระยาลิไท เรียกว่า "เมืองสระหลวง" ซึ่งมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองโอฆบุรี" ซึ่งแปลว่า "เมืองในท้องน้ำ" นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง ว่าเป็นดินแดนของจระเข้ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีความดุร้าย ปัจจุบันนี้มีฟาร์มจระเข้น้ำจืดหลายแห่ง และจังหวัดพิจิตรยังเป็นถิ่นกำเนิดของนิทานเรื่องไกรทองอันลือลั่นอีกด้วย
อาณาเขต
ทิศเหนือ: ติดต่อกับ จังหวัดพิษณุโลก
ทิศใต้: ติดต่อกับ จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก: ติดต่อกับ จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก: ติดต่อกับ จังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์
ระยะทาง
ระยะทางจากจังหวัดพิจิตรไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จังหวัดพิษณุโลก73 กม.จังหวัดนครสวรรค์113 กม.
จังหวัดกำแพงเพชร90 กม.จังหวัดเพชรบูรณ์129 กม.

ระยะทางจากอำเภอเมืองพิจิตรไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอสามง่าม18 กม.อำเภอทับคล้อ44 กม.
อำเภอสากเหล็ก20 กม.อำเภอบางมูลนาก50 กม.
อำเภอโพธิ์ประทับช้าง25 กม.อำเภอโพทะเล66 กม.
อำเภอวชิรบารมี26 กม.อำเภอดงเจริญ78 กม.
อำเภอตะพานหิน28 กม.อำเภอบึงนางราง86 กม.
อำเภอวังทรายพูน31 กม.  
เทศกาลและงานประเพณี
งานประเพณีแห่เจ้าพ่อแก้ว
วันที่จัดงาน: เดือนมกราคม- ต้นเดือนกุมภาพันธ์
สถานที่จัดงาน: อำเภอบางมูลนาก
การจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อแก้วมีมานานประมาณ 80 – 90 ปี จัดงานในบริเวณสนามหน้าที่ทำการเทศบาลเมืองบางมูลนาก ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง โดยภายในงานจะมีการจัดมหรสพงิ้วแต้จิ๋ว งิ้วไหหลำ ลิเก ภาพยนตร์ให้เพื่อความบันเทิง โดยงานประเพณีเจ้าพ่อแก้ว นับเป็นเครื่องหล่อหลอมจิตใจของคนจีนและคนไทยให้รักกันอย่างแน่นเฟ้นเป็นอย่างยิ่ง มิได้เป็นข้อผิดแผกแตกต่างให้อยู่คนละพวกคนละหมู่แต่อย่างใดเลย คำกล่าวที่ว่า “คนจีนกับคนไทยใช่อื่นไกลพี่น้องกัน” จะเห็นได้ชัดเจนในงานประจำปี “เจ้าพ่อแก้ว”
งานประเพณีกำฟ้า
วันที่จัดงาน: วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันกำต้อน และวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันกำฟ้า
สถานที่จัดงาน: อำเภอตะพานหิน
งานประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านอีกอย่างหนึ่งของลาวพวนบ้านป่าแดง อำเภอตะพานหิน ที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการบูชาหรือเคารพเทวดาฟ้าดิน เชื่อกันว่าเมื่อได้ทำบุญประกอบพิธีกรรมตั้งบายศรีบูชาขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟ้าแล้วจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล เชื่อกันว่าเสียงฟ้าร้องคือ “สัญญาณฟ้าเปิดประตูน้ำ” เพื่อให้ชาวนา ชาวไร่ มีน้ำประกอบอาชีพเกษตรกรรม สวนเกษตรวังทับไทร
วันมะม่วงดัง มะปรางเด่น

วันมะม่วงดัง มะปรางเด่นของดีอำเภอสากเหล็ก
วันที่จัดงาน: เดือนมีนาคม 
สถานที่จัดงาน: อำเภอสากเหล็ก
ชาวเกษตรกรทุกตําบลของอําเภอสากเหล็กและหนวยงานภาครัฐที่เกี่ยวของรวมกันจัดงาน“วันมะมวงดังมะปรางเดนของดีสากเหล็ก เพื่อพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรและสงเสริมสินคาชุมชน กิจกรรมการจัดงานที่จัดขึ้นจะพบกับมะมวงระดับคัดเลือกเพื่อการสงออกตางประเทศมะปรางที่มีขนาดใหญเทาไขไก นอกจากนั้นจะไดพบการแขงขันการประกอบอาหารนานาชนิดการแขงขันมวยไทยลูกทุงและการคนหานักรองลูกทงเสียงทองและกิจกรรมที่นาสนใจอีกมากมาย
ประเพณีสงกรานต์พ่อปู่ บูชาหลักเมือง
วันที่จัดงาน: 9 เดือนเมษายน 
สถานที่จัดงาน: อำเภอเมือง
อุทยานเมืองเก่า ต.โรงช้าง อ.เมืองพิจิตร เริ่มครั้งแรก ชื่องานว่า “สรงน้ำพ่อปู่ บูชาหลักเมือง” จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๘ โดยมีนายสมทบ ศุภศรี ขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองพิจิตร เป็นผู้ริเริ่มในการจัดงานสรงน้ำพ่อปู่ (พระยาโคตมเทวราช) ในเทศกาลสงกรานต์ประจำปี ซึ่งถือว่าพ่อปู่ คือเทพเทวาที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดพิจิตร ที่ชาวพิจิตรให้ความเคารพและเป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
งานประเพณีปู่จากพญาลอ (บูชาพระลอ)
วันที่จัดงาน: 9 เดือนเมษายน
สถานที่จัดงาน: อำเภอจุน
ในงานมีกิจกรรมพิธีไหว้บรรพบุรุษของเวียงลอ ขบวนแห่และงานแสดงแสงสีเสียง การแสดงทางวัฒนธรรมแข่งเรือยาวประเพณี
เทศกาลแข่งเรือยาวประเพณี

ประเพณียกธงวันสงกรานต์
วันที่จัดงาน: 19 เดือนเมษายน 
สถานที่จัดงาน: อำเภอสามง่ามา
ประเพณียกธงวันสงกรานต์ของชาวบ้านหนองโสน เป็นการนำประเพณียกธงในวันสงกรานต์โดยราษฎรที่อพยพมาจากหลายถิ่นหลายภาคของประเทศ เห็นเป็นประเพณีที่ดีงามและเป็นมงคลแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป จึงยึดถือเป็นประเพณีของหมู่บ้านตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คำว่า ธง ภาษาบาลี คงมาจาก สาธุง ซึ่งแปลว่า เครื่องหมาย แต่ชาวล้านนา เรียกว่า ตุง การทำธงจะทำจากแผ่นผ้าหรือเสื่อทอด้วยกก เย็บต่อกัน และปักให้ย้อยลงมาจากที่สูงทอดยาวตามคันธงหรือเสาธง
งานประเพณียิงฟ้าขอฝน อำเภอบึงนาราง
วันที่จัดงาน: เดือนพฤษภาคม
สถานที่จัดงาน: อำเภอบึงนาราง
บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบึงนาราง ประชาชนส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้รักษาสืบทอดงานบุญประเพณีที่เกี่ยวกับน้ำและการทำนาปลูกข้าวมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่งานบุญบั้งไฟ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อจุดบั้งไฟขึ้นสู่ฟ้าเพื่อบูชาพญาแถนเมื่อใด ฝนก็จะตกลงมาทำให้มีน้ำทำนาปลูกข้าวได้ผลดี บุญบั้งไฟจึงเป็นพิธีเกี่ยวกับเรื่องความเจริญงอกงามและความอุดมสมบูรณ์ของไร่นาและฟ้าฝน อันเนื่องด้วยอาชีพส่วนใหญ่ของประชาชน คือ อาชีพเกษตรกรรม ถือได้ว่าเป็นการยิงฟ้าขอฝนมีความสำคัญและมีค่ายิ่ง เพราะถ้าปีใดฝนแล้งทำนาไม่ได้ ก็จะได้รับความเดือดร้อน
เทศกาลแข่งเรือยาวประเพณี
วันที่จัดงาน: วันเสาร์และวันอาทิตย์แรกของเดือนกันยายน
สถานที่จัดงาน: อำเภอเมือง
จัดเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และจัดมานานแล้ว มีเรือเข้าร่วมการแข่งขันมากที่สุด เนื่องจากจังหวัดพิจิตรมีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน อีกทั้งมีน้ำไหลหลากเป็นประจุกปีตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน วัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำและมีเรือประจำวัด จะจัดให้มีการแข่งขันเรือยาวพร้อมจัดงานปิดทองไหว้พระไปด้วย เรือที่จัดให้มีการแข่งขัน ได้แก่ เรือยาวที่มีขนาดฝีพายต่างๆ เรือบด เรือหมู เรืออีโปง เรือเผ่นม้า ฯลฯ บางวัดจดงานแข่งเรือฉลององค์กฐินประจำปีไปด้วยโดยจัดที่วัดท่าหลวง พระอารามหลวง อำเภอเมืองพิจิตรนมัสการหลวงพ่อเพชร
งานนมัสการหลวงพ่อเพชร

งานประเพณีตักบาตรเทโวโรหะณะ (วัดพระพุทธบาทเขาทราย)
วันที่จัดงาน: วันแรม 2 ค่ำเดือน 11 (เดือนตุลาคม)
สถานที่จัดงาน: อำเภอทับคล้อ
ชาวอำเภอทับคล้อได้จัดงาน ทำบุญตักบาตรเทโวโรหะณะขึ้นเป็นประจำทุกปีที่วัดพระพุทธบาทเขาทราย โดยถือเอาวันแรม 2 ค่ำเดือน 11 (เดือนตุลาคม) เริ่มงานวันแรก ในงานจะมีการแห่พระพุทธปางประจำวัน เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมตักบาตรข้าวสาร อาหารแห้งและผู้ว่าราชการจังหวัด จะแต่งกายเป็นเทวดา (ท้าวสักกะเทวราช,พระอินทร์) ที่เชื่อกันว่า เป็นผู้นำพระพุทธองค์เสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ โดยมีพระภิกษุสงฆ์ 250 รูปลงบิณฑบาตรสองข้างทางจากมลฑปวัดพระพุทธบาทเขาทราย
งานนมัสการหลวงพ่อเพชรและงานกาชาดพิจิตร
วันที่จัดงาน: เดือนธันวาคม - มกราคม 
สถานที่จัดงาน: อำเภอเมือง
ในงานจะมีการจัดพิธีบวงสรวงหลวงพ่อเพชร การแสดงศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น การออกร้านสลากกาชาด ขบวนรถบุปผาชาติ การแสดงแสง เสียง พิธีนพเคราะห์ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และพิธีลอยกระทงสาย 1000 ดวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น