animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate

สมุทรปราการ

ข้อมูลแนะนำจังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ที่บริเวณปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยา ติดชายฝั่งทางด้านเหนือของอ่าวไทย เป็นจังหวัดขนาดเล็กบริเวณชานเมืองกรุงเทพฯ มีชื่อเรียกอื่นๆ อีกว่า "เมืองปากน้ำ" และ "เมืองพระประแดง" สมุทรปราการเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศ มีชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนทำธุรกิจเป็นจำนวนมาก จึงเป็นจังหวัดที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมหาศาลในปัจจุบัน
จังหวัดสมุทรปราการมีเนื้อที่ประมาณ 1,004 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 627,557 ไร่ จัดเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 70 ของประเทศไทย มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายสำคัญ และมีคลองสาขาแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนมาก สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม แบ่งเป็น 3 บริเวณ คือ บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เหมาะแก่การทำนาและทำสวน บริเวณตอนใต้ใกล้ชายฝั่งทะเล น้ำทะเลท่วมถึง พื้นดินและแหล่งน้ำจืดเค็มจัดในฤดูแล้ง มีป่าชายเลนตามชายฝั่ง เหมาะแก่การทำป่าจาก ป่าฟืน และบริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางตอนเหนือและทางตะวันออก เหมาะแก่การเพาะปลูก
ปัจจุบันจังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ และ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ และกิ่งอำเภอบางเสาธง
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดสมุทรปราการสมุทรปราการเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวเมืองเก่าตั้งอยู่แถบอำเภอพระประแดงในปัจจุบัน เคยเป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญในอดีต และเป็นจุดพักของเรือสินค้าต่างชาติที่มาติดต่อค้าขายกับไทย ที่บริเวณริมทะเลมีการสร้างป้อมค่ายคูเมืองอย่างมั่นคงแข็งแรงเมืองสมุทรปราการ
ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้รื้อกำแพงเมืองพระประแดงออก จนกระทั่งเมื่อถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงเห็นว่าเป็นช่องทางที่ข้าศึกจะยกทัพมาได้ จึงโปรดให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นที่ตำบลปากน้ำในปี พ.ศ. 2362 ใช้เวลาในการสร้าง 3 ปี และได้โปรดให้สร้างป้อมปราการขึ้นทั้งสองฝั่งแม่น้ำถึง 6 ป้อม คือ ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมประกายสิทธิ์ ป้อมนาคราช และป้อมผีเสื้อสมุทร โดยในขณะที่กำลังสร้างเมืองนั้น พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรหลายครั้ง และโปรดให้สร้างพระมหาเจดีย์ขึ้นที่เกาะกลางน้ำ แล้วพระราชทานนามว่า "พระสมุทรเจดีย์" แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อนที่เจดีย์จะสร้างเสร็จต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้สร้างพระสมุทรเจดีย์ต่อจนสำเร็จ และสร้างป้อมขึ้นอีก 3 แห่ง คือ ป้อมตรีเพชร ป้อมคงกระพัน และป้อมเสือซ่อนเล็บ
ในปี พ.ศ. 2402 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระสมุทรเจดีย์ให้สูงขึ้น และโปรดให้สร้างป้อมชายทะเลอีกแห่งหนึ่ง พระราชทานนามว่า "ป้อมพระจุลจอมเกล้า" ซึ่งในปัจจุบัน ป้อมต่างๆ ได้เสื่อมโทรมและปรักหักพังลงเสียเป็นส่วนใหญ่ คงเหลือแต่ป้อมผีเสื้อสมุทรและป้อมพระจุลจอมเกล้าเท่านั้น
อาณาเขต
» ทิศเหนือ : ติดต่อกับ กรุงเทพฯ
» ทิศใต้ : ติดต่อกับ อ่าวไทย
» ทิศตะวันออก : ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา
» ทิศตะวันตก : ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรสาคร
ระยะทาง
ระยะทางจากจังหวัดสมุทรปราการไปยังจังหวัดใกล้เคียง
กรุงเทพฯ46 กม.
จังหวัดสมุทรสาคร85 กม
จังหวัดฉะเชิงเทรา124 กม.

ระยะทางจากอำเภอเมืองสมุทรปราการไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอพระประแดง12 กม.
อำเภอบางพลี17 กม.
อำเภอพระสมุทรเจดีย์21 กม.
กิ่งอำเภอบางเสาธง32 กม.
อำเภอบางบ่อ38 กม.
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ (Phra Samut Chedi Worship Festival)
จัดขึ้นช่วง : เดือนพฤศจิกายน 
สถานที่ : บริเวณองค์พระสมุทรเจดีย์ 
งานนมัสการองค์พระสมุทรเจดีย์ เป็นงานประจำปีที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการ โดยกำหนดเอาวันแรม 5 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีเป็นวันเริ่มงาน ก่อนเริ่มงานประมาณวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชายหญิงพร้อมใจกัน ไปช่วยเย็บผ้าแดงผืนใหญ่สำหรับห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ ก่อนวันร่วมงานจังหวัดจะทำ พิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตลอดจน พระเทพารักษ์ ณ บริเวณองค์พระสมุทรเจดีย์ และพอถึงแรม 5 ค่ำ เดือน 11 จะมีการเชิญผ้าแดงผืนนี้ขึ้นตั้งบนบุษบก ใช้เรือยนต์เป็น พาหนะแห่ไปรอบๆ ตัวเมืองแล้วเชิญผ้าแดงแห่ไปตามลำน้ำเจ้าพระยา จนถึงอำเภอพระประแดง เพื่อให้ชาวพระประแดงร่วมอนุโมทนาแล้วจึงนำขบวนแห่กลับมาทำพิธีทักษินาวรรต รอบองค์พระสมุทรเจดีย์แล้วนำขึ้นห่มทางจังหวัดจัดงานฉลองทั้งสองฝังอำเภอ เมืองซึ่งเป็นที่ตั้งตัวจังหวัดและฝั่งอำเภอ พระสมุทรเจดีย์เป็นเวลา 9 วัน 9 คืนประเพณีรับบัวหรือโยนบัว
ประเพณีรับบัวหรือโยนบัว (Yon Bua Festival)
จัดขึ้นช่วง : เดือนพฤศจิกายน 
สถานที่ : บริเวณลําคลองสําโรงหน้าที่ว่าการอําเภอบางพลี และบริเวณวัด บางพลีใหญ่ 
เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวบางพลี จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และช่วงเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 จะเป็นงานประเพณีการรับบัวหรือโยนบัว โดยประชาชนจะโยนดอกบัวลงในเรือขบวนแห่พระพุทธรูปจำลองของหลวงพ่อโต ในขณะเดียวกันชาวบางพลีก็จะโยนบัวให้กับคนต่างบ้านที่พายเรือมาเที่ยวด้วย เพื่อเป็นการทำบุญร่วมกัน การจัดงานประกอบด้วยการนมัสการและขบวนแห่หลวงพ่อโต ทั้งทางบกและทางน้ำ การแข่งขันกิจกรรมพื้นบ้าน อาทิ การจัดพานดอกบัว มีการประกวดเรือประเภทต่างๆ และการแสดงการละเล่นพื้นบ้าน เช่น เพลงเรือ
งานประเพณีแข่งเรือหน้าเมืองพระประแดง (A Boat-race in front of Muang Phra Pradaeng)
จัดขึ้นช่วง : เดือนพฤศจิกายน 
สถานที่ : บริเวณลำน้ำเจ้าพระยาหน้าเมืองพระประแดง 
ประเพณีแข่งเรือหน้าเมืองพระประแดง จัดขึ้นในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เป็นวันแข่งเรือซึ่งเป็นประเพณีต่อเนื่องมาจากบางพลี ซึ่งจัดงานรับบัว แล้วต่อมาด้วยการแข่งเรือที่พระประแดง และปิดท้ายด้วยงานพระสมุทรเจดีย์ ซึ่งมีการแข่งขันเรือยาวเช่นเดียวกันงานประเพณีแข่งเรือหน้าเมืองพระประแดง
งานนมัสการหลวงพ่อปาน (Luang Pho Pan Worship Fair)
จัดขึ้นช่วง : เดือนธันวาคม 
สถานที่ : บริเวณที่ว่าการอำเภอบางบ่อ 
เป็นงานประจำปีของอำเภอบางบ่อสืบต่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปีจนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวอำเภอบางบ่อและประชาชนใกล้เคียง แม้ท่านได้มรณภาพมามากกว่า 50 ปีแล้ว ที่จัดขึ้นในช่วงประมาณวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของหลวงพ่อปาน
งานเทศกาลสงกรานต์ปากลัด (Pak Lat Songkran Fair - Phra Pradaeng)
งานเทศกาลสงกรานต์ปากลัดจัดขึ้นช่วง : เดือนเมษายน 
ทุกๆ ปี ในวันอาทิตย์แรกหลังจากเทศกาลสงกรานต์ (13 เมษายน) ชาวเมืองพระประแดงร่วมกับอำเภอเมืองพระประแดง จัดงานประเพณีสงกรานต์ตามแบบพื้นบ้านของชาวรามัญ มีขบวนแห่นางสงกรานต์ ปล่อยนกและปล่อยปลา มีการละเล่นพื้นเมือง เช่น สะบ้า ทะแยมอญ และมอญรำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น