animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate

เพชรบูรณ์

ข้อมูลแนะนำจังหวัดเพชรบูรณ์
ภูทับเบิก
ภูทับเบิก
จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดที่มีแนวเขตติดต่อระหว่างภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 12,668.416 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,917,760 ไร่ ส่วนที่กว้างที่สุดของจังหวัด จากด้านตะวันออกถึงตะวันตก กว้าง 55 ก.ม. ส่วนที่ยาวที่สุดวัดจากเหนือสุดถึงใต้สุด ยาว 296 กม. อยู่ห่างกรุงเทพ 346 ก.ม. ตามทางหลวงหมายเลข 21

สภาพภูมิประเทศทั่วไปของจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยภูเขาเพชรบูรณ์ เป็นรูปเกือกม้า รอบพื้นที่ด้านเหนือของจังหวัด เป็นแนวขนานกันไปทั้งสองข้าง ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด มีพื้นที่ราบอยู่ตอนกลางและอำเภอด้านใต้ของจังหวัด เป็นพื้นที่ลาดชันจากเหนือลงใต้ มีพื้นที่ป่าไม้ 3,624,830 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 45.78 มีแม่น้ำป่าสัก เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดของจังหวัด ไหลผ่านตอนกลางของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ ยาวประมาณ 350 กิโลเมตร ต้นน้ำเกิดจากภูเขาผาลาในจังหวัดเลย มีห้วยลำธารหลายสายเกิดจากภูเขาเพชรบูรณ์ แม่น้ำป่าสักไหลผ่านอำเภอหล่มเก่า หล่มสัก เมืองเพชรบูรณ์ หนองไผ่ บึงสามพัน วิเชียรบุรี และศรีเทพ
อาณาเขต
ทิศเหนือ: ติดต่อกับ จังหวัดเลย
ทิศใต้: ติดต่อกับ จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันออก: ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดชัยภูมิ
ทิศตะวันตก: ติดต่อกับ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร
ระยะทาง
ระยะทางจากจังหวัดเพชรบูรณ์ไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จังหวัดพิจิตร129 กม.จังหวัดนครสวรรค์192 กม.
จังหวัดพิษณุโลก170 กม.จังหวัดขอนแก่น240 กม.
จังหวัดเลย190 กม.  

ระยะทางจากอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอหล่มสัก25 กม.อำเภอวังโป่ง53 กม.
อำเภอเขาค้อ35 กม.อำเภอบึงสามพัน83 กม.
อำเภอชนแดน43 กม.อำเภอวิเชียรบุรี106 กม.
อำเภอหล่มเก่า43 กม.อำเภอศรีเทพ123 กม.
อำเภอหนองไผ่50 กม.อำเภอน้ำหนาว144 กม.
เทศกาลและงานประเพณี
งานกาชาดมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์
วันที่จัดงาน: ปลายเดือนมกราคมของทุกปี
สถานที่จัดงาน: บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ (แห่งใหม่)
จังหวัดเพชรบูรณ์ กำหนดจัดงานมะขามหวาน นครบาลเพชรบูรณ์ กิจกรรมได้กุศลของร้านกาชาด ภายในงานจัดให้มีการประกวดผลผลิตมะขามหวาน ชิงโล่รางวัลโล่พร้อมเงินสดกว่า และยังมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ “พิธีบวงสรวงบูชาศาลเจ้าพ่อหลักเมือง” ซึ่งเป็นเสาหลักเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ชมขบวนแห่รถธิดามะขามหวานที่สร้างสรรค์อย่างงดงามตระการตา ตลาดนัดมะขามหวานใหม่-สด ในราคายุติธรรม การประกวดธิดานครบาลเพชรบูรณ์ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน นิทรรศการจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน กิจกรรมงานราตรีรำลึกนครบาลเพชรบูรณ์ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร และปศุสัตว์ ภาพยนตร์ มหรสพ หมอลำซิ่ง และคอนเสิร์ตศิลปินชื่อดังทุกคืน โดยนักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไปจะได้ทั้งความรู้ และท่องเที่ยวสนุกเพราะในช่วงจัดงานจะเป็นช่วงที่จังหวัดเพชรบูรณ์มีอากาศเย็น นักท่องเที่ยวยังจะได้เดินทางสัมผัสบรรยากาศ และทิวทัศน์ที่สวยงามตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดเพชรบูรณ์ในหลายอำเภออีกด้วย
ประเพณีเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง
วันที่จัดงาน: 29 ธันวาคม – 2 มกราคม ของทุกปี
สถานที่จัดงาน: บริเวณลานอนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง
จัดขึ้นเพื่อเคารพสักการะและเผยแพร่ประวัติเกียรติคุณของพ่อขุนผาเมือง ปูชนียบุคคลของชาติไทย ถือได้ว่าเป็นงานที่มีความสำคัญยิ่งงานหนึ่ง ที่เกิดจากความพร้อมเพียง ความสมัครสมาน สามัคคีของข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน และกลุ่มพลังมวลชนที่ได้ให้ความ ร่วมใจเสียสละทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์ พิธีบรวงสรวงดวงวิญญาณพ่อขุนผาเมือง และพิธีเปิดงาน กำหนดในวันแรกของงาน เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอำเภอหล่มสัก ซึ่งมีมาแต่โบราณ มักนิยมเล่นในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา - ออกพรรษา ซึ่งมีการเส็งกลอง 2 ลักษณะ คือ จัดเส็งกลองร่วมกับงานบุญบั้งไฟ โอยเชื่อว่าการเส็งกลองเพื่อเป็นการเชื้อเชิญเทวดา มนุษย์โลก และภูติผีมา ร่วมทำบุญบั้งไฟ โดยพร้อมเพียงกัน อีกลักษณะจนเป็นการนัดหมายช่างกลองตามบ้านต่าง ๆ ให้นำกลองมาเส็งแข่งกัน เพื่อประกวดในเรื่อง "ความดัง" กลองที่ตีได้เสียงดังที่สุด คือ มีเสียงทุ้ม กลาง แหลม ครบถ้วนจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน ลักษณะกลองที่จะนำมาเส็ง ทำมาจากไม้ประดู่ เจาะให้กลวงและบาง มีลักษณะเรียว หลังกลองจะเป็นหนังวัว ส่วนฆ้อนที่ใช้ตี ทำมาจากไม้ข่อยหรือไม้หม่อน ส่วนมี่จะใช้ตีจะนำตะกั่วมาหุ้มรอบ เพื่อรักษาหนังหน้ากลอง และฆ้อนมีน้ำหนักจะตีได้ดัง ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การประกวดเส็งกลอง (คือการแข่งขันตีกลองยาว และตีกลองสองหน้า ว่ากลองลูกไหนจะมีเสียงไพเราะกว่ากัน ซึ่งการเส็งกลอง เป็นการละเล่นที่นิยมมาตั้งแต่อดีตของชาวเพชรบูรณ์) การล่องโคมไฟ การรับประทางอาหารพื้นเมือง และการละเล่นพื้นเมืองต่างๆ เป็นประเพณีท้องถิ่นของอำเภอหล่มสัก สำหรับการล่องโคม หมายถึง การลอยโคมไฟ เชื่อกันว่าเป็นการบูชาเทพยดาบนสวรรค์มักนิยมล่องโคมไฟกันในช่วงวันออกพรรษา
งานวัฒนธรรมไทหล่ม ขนมเส้น หล่มเก่า และเทศกาลอาหารอร่อย
วันที่จัดงาน: เดือนกุมภาพันธ์
สถานที่จัดงาน: สนามกีฬาโรงเรียนอนุบาลหล่มเก่า อำเภอหล่มเก่า
ชมการสาธิตทำขนมเส้นและการจำหน่ายขนมเส้น กิจกรรมแข่งขันกินขนมเส้น (ขนมจีน) การประกวดธิดาขนมเส้น การแข่งขันบีบเส้นขนมจีนที่ยาวที่สุด การประกวดคู่รักยืนนาน และการแข่งขันตำซั่ว
ประเพณีบุญบั้งไฟเดือนหกและผีตาโม่
วันที่จัดงาน: เดือนมิถุนายน
สถานที่จัดงาน: บ้านนาทราย อำเภอหล่มเก่า
เป็นงานเทศกาลบุญบั้งไฟขอฝนและผีตามโม่ ซึ่งเป็นความเชื่อของคนสมัยโบราณที่มีประวัติยาวนานของผู้คนในท้องถิ่นอำเภอหล่มเก่า เป็นผีที่คอยสิงสถิตอยู่ตามบ้านเรือน ป่าเขาลำเนาไพร ชาวบ้านที่บ้านนาทรายจึงได้จัดขบวนแห่ผีตาโม่ขึ้นในเทศกาลบุญบั้งไฟเดือนหก เพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล อันจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
เทศกาลชิมไก่ย่างวิเชียรบุรี
วันที่จัดงาน: ประมาณเดือนสิงหาคม - เดือนกันยายน
สถานที่จัดงาน: บริเวณสามแยกวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณสามแยกวิเชียรบุรี ภายในงานจะได้ชิมไก่ย่างวิเชียรบุรีที่ขึ้นชื่อของจังหวัดเพชรบูรณ์ การประกวดไก่ย่างรสเด็ด การประกวดกินไก่ย่าง การออกร้านจำหน่ายไก่ย่าง การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ และกิจกรรมการละเล่นต่างๆ
งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำและเทศกาลอาหารอร่อย
วันที่จัดงาน: ช่วงเดือนกันยายนของทุกปี (แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี)
สถานที่จัดงาน: ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ วัดไตรภูมิ และวัดโบสถ์ชนะมาร อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำและเทศกาลอาหารอร่อย
งานประเพณีอุ้มพระดำน้ำและเทศกาลอาหารอร่อย
ในช่วงเทศกาลสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ชาวเมืองเพชรบูรณ์ร่วมกันแห่พระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดไปรอบเมืองจนถีงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเพชรบูรณ์ จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชาดำลงไปในน้ำ และโผล่ขึ้นมา ทำเช่นนี้จนครบทั้ง 4 ทิศ ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด หากปีใดไม่ได้กระทำพิธีอุ้มพระดำน้ำ เชื่อกันว่าปีนั้นจะเกิดฝนแล้ง ภายในงานนักท่องเที่ยวจะได้ชมขบวนแห่พระพุทธมหาธรรมราชาทางบกและทางน้ำ พิธีอุ้มพระดำน้ำ การแสดงแสงเสียง เทศกาลอาหารอร่อยและแข่งขันพายเรือทวนน้ำ
งานฉลองปีใหม่ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง
วันที่จัดงาน: ปลายเดือนธันวาคม
สถานที่จัดงาน: บ้านเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ และบ้านภูทับเบิก อำเภอหล่มเก่า
การจัดงานเฉลิมฉลองวันปีใหม่ ของขาวเขาเผ่าม้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชมการแต่งกายสีสันสดใสงดงาม ของชาวม้ง การละเล่นวัฒนธรรมพื้นบ้านต่างๆ เช่น การโยนลูกช่วง กิจกรรมงานรื่นเริงต่างๆ นอกจากนี้ภายในงานมีการแสดงของชาวเขา และร้านค้าขายของมากมายอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น