animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate animate

พิษณุโลก


                      จังหวัดพิษณุโลก   เป็นจังหวัดอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพฯ   ประมาณ  377  กิโลเมตรโดยทางรถยนต์
มีเนื้อที่  10,815.8  ตารางกิโลเมตร (6,759,909 ไร่)  หรือ  ร้อยละ 6.37 ของพื้นที่ภาคเหนือ   และร้อยละ 2.1 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ
ติดกับอำเภอน้ำปาด   อำเภอพิชัย   อำเภอทองแสนขัน   จังหวัดอุตรดิตถ์
และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ทิศใต้ 
ติดกับอำเภอเมือง   อำเภอสามง่าม   อำเภอวังทรายพูน
กิ่งอำเภอสากเหล็ก   จังหวัดพิจิตร

ทิศตะวันออก 
ติดกับอำเภอด่านซ้าย   จังหวัดเลย   อำเภอเขาค้อ   อำเภอวังโป่ง
จังหวัดเพชรบูรณ์

ทิศตะวันตก
ติดกับอำเภอลานกระบือ   จังหวัดกำแพงเพชร   อำเภอคีรีมาศ
อำเภอกงไกรลาศ   จังหวัดสุโขทัย
  ตราประจำจังหวัดพิษณุโลก
                 รูปพระพุทธชินราช   ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดของประเทศไทย   สร้างขึ้นเมื่อ
      พ.ศ. 1900   ปัจจุบันประดิษฐานอยู่   ณ   พระอุโบสถ์   วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร    
      ในเมืองพิษณุโลกเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง  จึงนำมาเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด
  คำขวัญจังหวัดพิษณุโลก

" พระพุทธชินราชงามเลิศ          ถิ่นกำเนิดพระนเรศวร
   สองฝั่งน่านล้วนเรือนแพ          หวานฉ่ำแท้กล้วยตาก
ถ้ำและน้ำตกหลากตระการตา
 "
  ประวัติศาสตร์ของจังหวัดพิษณุโลก

            หลักฐานการสร้างเมืองพิษณุโลกมีมาแต่พุทธศตวรรษที่   15   สมัยขอมมีอำนาจปกครองแถบนี้   แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า   “ เมืองสองแคว ”
เนื่องจากเมืองนี้ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำน่าน    และแม่น้ำแควน้อย   หรือบริเวณที่ตั้งของวัดจุฬามณีในปัจจุบัน   เมื่อประมาณป  ี พ.ศ. 1900
สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยแห่งกรุงสุโขทัย   ได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองมาตั้งอยู่   ณ   ตัวเมืองปัจจุบัน   โดยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง

            สมัยอยุธยา    เมืองพิษณุโลกทวีความสำคัญมากขึ้น    เพราะเป็นเมืองกึ่งกลางระหว่างกรุงศรีอยุธยาและอาณาจักรฝ่ายเหนือ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ทรงปฏิรูปการปกครองและได้เสด็จมาประทับที่เมืองนี้ตั้งแต่   พ.ศ. 2006   จนสิ้นรัชกาลในปี   พ.ศ. 2031
ช่วงนั้นพิษณุโลกเป็นราชธานีแทนกรุงศรีอยุธยาถึง  25  ปี   หลังรัชสมัยของพระองค์   พิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง   เป็นหน้าด่านสำคัญ
ที่จะสกัดกั้นกองทัพพม่า   เมื่อครั้งพระนเรศวรมหาราชดำรงฐานะพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก   ระยะนั้นไทยตกเป็นเมืองขึ้นพม่า
สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงรวบรวมชายฉกรรจ์ชาวพิษณุโลกกอบกู้อิสรภาพชาติไทยได้

            ในสมัยรัตนโกสินทร์    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   ได้ทรงดำรงให้รื้อกำแพงเมืองพิษณุโลกเพื่อไม่ให้ข้าศึกใช้เป็นที่มั่น
            ครั้นถึงปี   พ.ศ. 2473   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   โปรดเกล้าฯ   ให้ยกฐานะเมืองพิษณุโลกขึ้นเป็นมณฑล   เรียกว่า
มณฑลพิษณุโลก
            ต่อมาเมื่อยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว   พิษณุโลกจึงมีฐานะเป็นจังหวัดเรื่อยมาจนปัจจุบัน
  เพลงประจำจังหวัด
.. ...ยามเยือนถิ่นแคว้น ดินแดนฟูเฟื่อง
ชื่อเมืองสองแคว สมคำกล่าวแท้
สวรรค์สรรสร้าง เพลินน้ำหลากไหลเป็นแนวทาง
สองริมฟากฝั่งพืชพันธุ์สะพรั่งทั่วไป
.. ... พนมมือกราบพระพุทธชินราช พระปฎิมา
ขอจงเมตตาป้องปกผองภัย
บุญน้อมนำเคราะห์กรรมสิ้นไป
หวังใดจงได้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไซร้ช่วยดล
**.. ... น่านน้ำยามเย็นกระเด็นเป็นฟอง
โอ้แก่งโสภาละอองน้ำหล่น
สกุโณฑยานสำราญกมล
ได้ยลเสมือนวิมาน
.. ... จำลาจากแคว้นแดนพิษณุโลก วิโยคดวงใจ
ถึงยามจากไปเสมือนไกลบ้าน
คงว้าเหว่เหงาใจไปนาน
ทุกคราที่ผ่าน อกสั่นหวั่นไหวอาวร
(ซ้ำ **)
  ธงประจำจังหวัด
พื้นสีม่วง มีตราจังหวัดเป็นสัญลักษณ์ 
  ดอกไม้และต้นไม้ประจำจังหวัด
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกนนทรี
ต้นไม้ประจำจังหวัด : 
ชื่อพรรณไม้ : ปีบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millingtonia hortensis 
  สัตว์ประจำจังหวัด
สุนัขบางแก้ว
อ่านต่อ...
ไก่ชนพระนเรศวร
  ภูมิประเทศของจังหวัด
         




                ทางตอนเหนือ   และตอนกลาง
           เป็นเขตเทือกเขาสูง   และที่ราบสูง
           โดยมีเขตภูเขาสูงด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
           ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอวังทอง   วัดโบสถ์
           เนินมะปราง   นครไทย   และชาติตระการ
           &พื้นที่ตอนกลางมาทางใต้เป็นที่ราบ
           และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่ม   โดยเฉพาะ
           บริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน   และแม่น้ำยม
           ซึ่งเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญที่สุด
           ของจังหวัดพิษณุโลกอยู่ในเขตอำเภอบางระกำ
           อำเภอเมืองพิษณุโลก    อำเภอพรหมพิราม
           อำเภอเนินมะปราง   และบางส่วนของอำเภอวังทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น